บทความ โดย พญ. พิมพิกา ตันติธรรมวงศ์ กุมารแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 10 มี.ค 2565
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาด ของโควิด19 สายพันธ์โอมิครอน ทำให้เด็กติดโควิดกันมาก
และ ผู้ปกครองมักจะมีความกังวลตามมา เช่น
- จะเกิด Long covid หรือ MIS-C หรือไม่ ?
- จะเฝ้าสังเกตลูกได้อย่างไร ?
- ฉีดวัคซีนได้เมื่อไหร่ ?
- เด็กหายจากโควิดต้องฉีดวัคซีนโควิดอีกหรือไม่?
- และเมื่อไหร่ ? เป็นต้น
ซึ่งหมอได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยและสรุป ไว้ให้ดังนี้คะ
1. หลังหายจากการติดเชื้อโควิด เด็กต้องฉีดวัคซีนโควิดอีกหรือไม่?
ภายหลังหายจากการติดเชื้อโควิด ปกติ การติดเชื้อจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้น ประมาณ 1-3 เดือนหลังจากติดเชื้อ ดังนั้นเลยแนะนำฉีดวัคซีนโควิด หลังจากหายแล้ว 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตามสามารถฉีดก่อนได้ หลังจากติดเชื้อที่ 1 เดือน ขึ้นไป ไม่ได้เป็นข้อห้าม เพียงแค่เชื่อว่า อาจมีภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่แล้ว ผู้ปกครองสามารถเลือกฉีดได้ ตามแต่กรณีจำเป็น เช่น ฉีดก่อนเข้าโรงเรียน หรือ เพื่อใช้เดินทาง เป็นต้น
2. หลังการติดเชื้อสามารถ ฉีดวัคซีนอื่นๆ ตามเกณฑ์ของเด็ก ได้เมื่อไหร่?
สามารถ ฉีดได้เลย ตามกำหนดการได้รับวัคซีนของเด็ก นั้นๆ ถ้ายังอยู่ในช่วงมีอาการ หรือกักตัว ให้เลื่อนไป ก่อน ปกติ วัคซีน สามารถ เลื่อนได้บวกลบ 1-2 สัปดาห์ แต่หากครบ10 วัน แล้วยังมีอาการ เช่น ไอ แนะนำให้แยกตัว ไปก่อน รอให้ครบ ประมาน 2 สัปดาห์ ค่อยไปฉีด
- วัคซีน ในเด็กทุกชนิด ควรฉีดตอนเด็กแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ถ้ายังป่วย เช่น ไข้ มีอาการใดๆให้ เลื่อนฉีด ไปก่อน
- หลังฉีดวัคซีนใดๆ อาจมีไข้ได้ 1-2 วันหลังฉีด มักจะไข้ต่ำๆ หากมีอาการให้ทานยาลดไข้ เช็ดตัว
3. วัคซีนโควิด ในเด็ก ที่ได้รับการรับรอง มีตัวไหนบ้าง? แนะนำ อย่างไร ?
แบ่งตามกลุ่มอายุ
– 5-<12 ปี แนะนำ ฉีด mRNA vaccine (Pfizer) ฝาสีส้ม จะฉีด โดส น้อยกว่า ผู้ใหญ่ (ฝาสีม่วง) 3 เท่า เข้ากล้ามเนื้อ
– 12 -<18 ปี แนะนำฉีด mRNA vaccine (Pfizer ) ฝาสีม่วง(dose เท่าผู้ใหญ่)
แนะนำฉีด 2 เข็ม เข้ากล้ามเนื้อ ห่าง 8 สัปดาห์
- ปัจจุบันในเด็กที่ยังไม่เคยฉีด แนะนำ ฉีด 2 เข็ม ห่าง 8 สัปดาห์ (เมื่อก่อน ยังแนะนำ ห่าง 12 สัปดาห์ ขยับขึ้นมา เนื่องจาก ได้มีระดับภูมิคุ้มกันที่สูง และลดการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ)
- ในเด็กที่เคยได้วัคซีน Pfizer ครบแล้ว 2 เข็ม แนะนำให้กระตุ้น อีกเป็นเข็มที่ 3 ห่าง 4-6 เดือน
- ในเด็กที่เคยได้รับวัคซีนโควิดมาแล้ว 1 เข็ม และ ติดเชื้อ โควิด ให้กระตุ้น อีก 1 เข็ม หลังจากหายแล้วที่ 3 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่
- ในเด็กที่เคยได้ sinovac / sinopharm (รับรองในเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไป) มาก่อน แนะนำกระตุ้น ด้วย วัคซีน mRNa ที่ 1 เดือน ขึ้นไป เนื่องจาก วัคซีนเชื้อตาย ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์โอไมครอน( แม้จะกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตายเป็นเข็มที่สามก็ยังไม่เพียงพอค่ะ)
- ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนโควิดที่ได้รับการรับรองที่อายุต่ำกว่า 5 ปี คะ
- วัคซีน Moderna อย อนุมัติให้ฉีด ได้ ในเด็ก อายุ 12-17 ปี แต่พบ อัตราการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สูงกว่า Pfizer ประมาณ 2.5 เท่า และยังไม่รับรองในเด็กเล็ก
4. วิธีปฏิบัติตัวหลังได้รับวัคซีน Pfizer
❌ งดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลา 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
✔️ กินยาแก้ปวด/ลดไข้พาราเซตามอล บรรเทาอาการ หากมีอาการปวด หรือไข้
✔️ สังเกตอาการ หากมีเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม ควรรีบพาไปพบแพทย์และแจ้งข้อมูลว่าเพิ่งได้รับวัคซีนไฟเซอร์
5. การเกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis )ในเด็กหลังฉีดวัคซีน Pfizer
การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีรายงานมักเกิด ภายหลังฉีดเข็มที่2 ที่ 1 สัปดาห์ ขึ้นไป และมักพบในเด็ก ผู้ชาย 12-16 ปี พบน้อย ค่อนข้างrare (ประมานน 8-10 คน ใน ล้านคน) และอาการไม่รุนแรง ส่วนในเด็กอายุ น้อยกว่า 12 ปี ยังไม่ค่อยมีรายงาน และค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตามเลยแนะนำ งดออกกำลังกายหนัก 1 สัปดาห์ หลังฉีด เพื่อเฝ้าระวังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
6. เด็กกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ โควิด 19 ที่รุนแรงได้แก่ กลุ่มไหนบ้าง?
เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง (weight for height) มากกว่า +3 SD) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
กลุ่มเหล่านี้แนะนำควรฉีดวัคซีนโควิด และต้องเฝ้าระวังกรณีติดเชื้อโควิดและควรได้รับยาต้านไวรัสหากติดเชื้อโควิด
7. ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด ที่พบได้บ่อย ?
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด ที่พบได้บ่อย เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดปวดเมื่อย ไข้
8. ข้อห้าม การฉีดวัคซีน โควิดในเด็ก ?
- แพ้วัคซีน แบบรุงแรง (anaphylaxis) ไม่ควรฉีด
- โรคประจำตัวใดๆ G6PD แพ้ยาใดๆ สามารถฉีดได้
9. ทำไม ถึงแนะนำ การฉีดวัคซีนโควิด19 ในเด็ก?
การแพร่ระบาดของสายพันธ์โอมิครอน เราพบการติดเชื้อ ในเด็กสูงขึ้นอย่างชัดเจน และโดยส่วนใหญ่มักมีอาการ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เช่น ไข้ ชัก อาเจียน ถ่ายเหลว ไอ ( อาจเนื่องมาจาก เด็กยังได้รับวัคซีน เป็นส่วนน้อย กว่าผู้ใหญ่ ) และส่วนใหญ่ติดมาจากคนในครอบครัว
การฉีด วัคซีนโควิด หมอยังแนะนำให้ฉีด ไม่ได้หมายความว่า ฉีดแล้วจะไม่ติดเชื้อโควิด แต่เราฉีดเพื่อลดการเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรง ลดอัตราการเสียชีวิต และยังลดการเกิด Mis-C ได้
ตราบใด ที่ ยังมีการกลายพันธ์ของไวรัส บางคนฉีดวัคซีนโควิด 4-5 เข็มแล้ว ก็ยังติดเชื้อได้อีก แม้กระทั่ง เคยติดเชื้อ โควิดแล้ว ก็ยังติดซ้ำได้อีก ถ้าคนละสายพันธ์ แต่อาการจะน้อย ไม่รุนแรง ถ้าเทียบกับคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดใดๆมาก่อนเลย
10. หลังหายจากการติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก ต้องระวังอะไรบ้าง ? Mis-C, Long Covid ต่างกันอย่างไร?
Mis-C (มิสซี) ย่อมาจาก Multisystem inflammatory syndrome in children คือ ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย ภายหลังการติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก พบได้ตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์ เด็กจะมีอาการ คล้ายโรคคาวาซากิ คือจะไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากหรือลิ้นแดง มือเท้าบวมแดง ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต อาเจียน ถ่ายเหลว หอบเหนื่อย ช็อกและมีโอกาสเสียชีวิตได้ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป ดังนั้น ผู้ปกครอง ควรเฝ้าระวัง หากพบอาการผิดปกติ เหล่านี้ ภายหลังการติดเชื้อโควิด ควรไปพบแพทย์
Long Covid หรือ Post Covid Syndrome คือการที่ยังมีอาการใดๆ ที่ไม่สามารถ อธิบายได้ ภายหลังการติดเชื้อโควิด พบได้ตั้งแต่ หลังการติดเชื้อ ไปจนถึง 3 เดือน สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนของเชื้อซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้วแต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกาย
ข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่าอาการ long covid ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และ หายไปเอง (หลัง3 เดือน) การรักษา คือ รักษาตามอาการ
อาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ผมร่วง เวียนศีรษะ วิตกกังวล/ เครียด ความจำสั้น เจ็บหน้าอก ผื่นเป็นๆหายๆ ข้อมูลอาการ ในเด็ก Long Covid ยังไม่ค่อยมีคะ
11. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ,วัคซีน IPD สามารถฉีดได้หรือไม่ หากเคยเป็นโควิด? ป้องกันการติดโควิด หรือไม่?
วัคซีนแต่ละชนิด ถูกออกแบบมาเพื่อ ให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้นๆ ไม่สามารถ ทดแทนกันได้ กล่าวคือ
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ( Influenza vaccine) ก็คือ ฉีด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ในเด็ก อาการ จะไข้สูง ไอ น้ำมูก ซึ่งเป็นอาการเดียวกับที่พบการติดเชื้อโควิด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่จำเป็นในเด็ก ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และฉีดได้ทุกปี
- วัคซีน IPD (Invasive Pneumococcal Disease ) หรือ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ก็เช่นเดียวกัน ฉีด เพื่อ ป้องกันโรคปอดอักเสบ รุนแรง เช่น กรณี ติดเชื้อ โควิด ที่เกิดจากเชื้อไวรัส และหากมีอาการแทรกซ้อน ติดเชื้อแบคทีเรีย มีปอดอักเสบแทรกซ้อน ก็สามารถลดอาการ และความรุนแรงลงไปได้ ดังนั้น ยังแนะนำให้ฉีด ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่นมีโรคประจำตัว เด็กเล็ก โรคหอบหืด ควรฉีด สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป เป็นวัคซีนเสริม
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีน IPD สามารถฉีด พร้อมกันได้ และหากจะฉีด วัคซีนโควิด ก็สามารถฉีดได้เลย ไม่ต้องเว้น ระยะห่าง เพียงแต่ หากกลัว ผลข้างเคียง ก็แนะนำเว้นระยะ ที่ 1-2 สัปดาห์ ได้คะ