ศาสตร์การแพทย์แผนจีนกับการฝังเข็ม

        การแพทย์แผนจีนเป็นศาสตร์การแพทย์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า5,000ปี ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ประกาศให้การแพทย์แผนจีนเป็นอีกหนึ่งศาสตร์การแพทย์(ฝังเข็ม)ที่ให้การรักษาเห็นผลและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจวบจนถึงปัจจุบัน  แพทย์แผนจีน คือหนึ่งในการแพทย์ทางเลือก( alternative medicine) ที่สามารถ นำมารักษาคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน(Conventional medicine) ได้ โดยเฉพาะ เรื่องการฟื้นฟู โดยใช้หลักการรักษาแบบองค์รวม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของระบบร่างกายทั้งภายในและภายนอก มองรวมถึงสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อร่างกาย  โดยใช้หลักการดูความสมดุล เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปจนส่งผลให้ระบบร่างกายเสียสมดุลอันก่อให้เกิดโรคต่อไป ชาวจีนโบราณเชื่อว่าภายในร่างกายมนุษย์มี Qi หรือ ชี่ ซึ่งหมายถึงพลังชีวิตที่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย เป็นพลังงานที่ไม่สามารถมองเห็น ประกอบด้วย

หยิน เป็นพลังในทางลบ บ่งบอกถึงความเย็น ความมืด และเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง

หยาง เป็นพลังในทางบวก บ่งบอกถึงความร้อน แสงสว่าง และเป็นตัวแทนของเพศชาย

เมื่อร่างกายเกิดความเครียด มีอารมณ์ขุ่นมัว รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็จะทำให้หยินและหยางเสียสมดุล ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้

Loading

หลักการวินิจฉัยโรคทางแพทย์แผนจีน จะใช้   4 วิธี คือ

1.การมองดู(望诊) เป็นวิธีการตรวจโดยการมองลักษณะภายนอก รูปร่าง สี ที่เห็นได้ด้วยทางสายตา ดูลักษณะความผิดปกติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยรวมที่เรียกว่า ความมีชีวิตชีวา(神) นั่นเอง

2.การได้รับกลิ่นและการได้ยิน(闻诊听诊) คือ การได้รับสัมผัสกลิ่นที่เกิดขึ้น เช่น กลิ่นปาก  ซึ่งอาจเกิดจากความร้อนจากกระเพาะ  กลิ่นฉุนคล้ามแอมเนียมจากผู้ป่วยโรคไต เป็นต้น และการตรวจจากการได้ยิน เช่น เสียงแหบ เสียงอื้อคล้ายมีเสหะ เสียงหือหอบ เป็นต้น

3.การถาม(问诊) คือ การสอบถามซักประวัติ พูดคุยถึงอาการความผิดปกติ ระยะเวลาการดำเนินการของโรค เพื่อประกอบกับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ให้การรักษาตรงจุดมากยิ่งขึ้น

4.การคลำจับชีพจร(切脉) เป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจดูถึงการเต้นของชีพจร ในแต่ละลักษณะสะท้อนถึงความสมดุลของระบบภายในร่างกาย หรือ ความอ่อนแอของร่างกายที่อาจก่อให้เกิดโรคได้ในอนาคต

หลักการรักษาทางแพทย์จีน มี 5 วิธี

1.ฝังเข็ม 2. ยาจีน 3. กดจุยทุยหนา   4. ครอบแก้ว 5. ปล่อยเลือด
โดยแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับกลุ่มโรคและการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ 

การฝังเข็มเหมาะกับใครบ้าง

  1. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรับการรักษาด้วยการใช้ยาซึ่งเป็นการเพิ่มสารเคมีจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย
  2. ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาหลาย ๆ ชนิด
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันของยา
  4. ผู้ป่วยที่มีปัญหาหยุดยาที่ใช้รักษาโรคไม่ได้ เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ยาระบาย เป็นต้น
  5. ผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาแบบผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนตะวันตกกับการฝังเข็ม
  6. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพโดยการปรับสมดุลภายในร่างกาย

CHINESE MEDICAL PROGRAM

Loading