วัคซีนที่จำเป็นในเด็ก ( Necessary Vaccine )มีอะไรบ้าง ?
- วัคซีนป้องกันวัณโรค(BCG) ควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด โดยฉีดที่บริเวณไหล่ซ้าย ซึ่งปกติโรงพยาบาลจะฉีดให้ทารกก่อนกลับบ้าน
- วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) เป็นวัคซีนอีกตัวหนึ่งที่เด็กจะได้รับหลังคลอด ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้ง และเข็มสุดท้ายที่ได้รับต้องอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 6 เดือน ต้องได้รับทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข็มแรกตั้งแต่แรกเกิด เข็มที่สองเมื่ออายุครบ 1-2 เดือน และเข็มสุดท้ายเมื่อเด็กครบ 6 เดือน
ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ใช้วัคซีนรวมที่มี คอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน – ตับอักเสบบี – ฮิบ (DTwP-HB-Hib) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน ถ้าหากคุณแม่มี HBsAg เป็นบวก และเด็กไม่ได้รับ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
- วัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน (DTwP, DTaP) โดยฉีดชุดแรก 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน หลังจากนั้นควรมีการฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานของวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน และเมื่อมีอายุ 4-6 ปี และฉีดเฉพาะ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สำหรับเด็กโต สามารถใช้วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง ในกรณีที่ใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน หากไม่สามารถใช้ชนิดเดียวแทนกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนกันก็ได้ และควรได้รับการฉีดกระตุ้นด้วย Td/Tdap ทุก 10 ปี
- วัคซีนโปลิโอ ( OPV, IPV) โดยใช้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีดร่วมกับวัคซีนโปลิโอรูปแบบกิน โดยตามกระทรวงสาธารณสุขปี 2567เด็กๆ จะได้รับการหยอดวัคซีนโปลิโอรูปแบบกินจำนวน 3 ครั้ง เมื่ออายุ 6 เดือน, 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี และต้องได้รับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 2, 4 เดือน หากเด็ก ได้รับวัคซีนแบบรวมที่เป็นรูปแบบฉีดแล้ว ไม่ต้องได้รับแบบกินได้
- วัคซีนฮิบ (Hib) หรือ เชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี (Hemophilus influenzae type B) คือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอย่าง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ เป็นต้น โดยเด็กจะได้วัคซีนฮิบในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน เช่นเดียวกับวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน
- วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus) เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า ที่ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ และอาเจียนรุนแรงในทารกและเด็กเล็ก โดยเด็กจะได้รับวัคซีนในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน ซึ่งมีข้อแนะนำในการรับวัคซีน ดังนี้ วัคซีนโรต้า มีด้วยกัน 2 ชนิด แบ่งออกเป็น ชนิด monovalent มี 2 ชนิด ได้แก่ human monovalent (Rotarix™) ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน ชนิด human-bovine pentavalent (RotaTeq™, Rotasiil™) ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน โดย สามารถเริ่มให้ได้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6 – 15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ และควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง หรือไม่ทราบว่าครั้งก่อนหน้าได้รับวัคซีนชนิดอะไรมา ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง โดยสามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
- วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม(MMR) จะให้ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 18 เดือน หากเด็กอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานโรคหัดจำนวนน้อย อาจจะฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 12 เดือน
- วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) มีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated; JEVAC™) ฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เข็มต่อมาอีก 1 – 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ อีกชนิดคือ วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE; CD-JEVAX™ และ IMOJEV™/THAIJEV™) ให้ฉีด 2 ครั้ง เข็มแรกที่อายุ 9 – 12 เดือน เข็มต่อมาอีก 12 – 24 เดือน live JE ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ( Influenza Vaccine) เป็นวัคซีนสำคัญอีกตัวที่เด็กทารกควรได้รับ โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะพิจารณาให้ฉีด ตอนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยปีแรก ฉีด2 เข็ม เว้นระยะห่างกัน 4 สัปดาห์ และหลังจากนั้นควรฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด), โรคหัวใจ, โรคอ้วน (มีค่าBMI มากกว่า 35), ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, หญิงตั้งครรภ์ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น
- วัคซีนเอชพีวี (HPV) เป็นวัคซีนที่ป้องกันไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก และเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ทำลายสุขภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9-26 ปี อย่างไรก็ตาม วัคซีน HPV ยังสามารถฉีดในเด็กผู้ชายได้เหมือนกัน โดยจะไปช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาต มะเร็งช่องปากและหลอดคอ มะเร็งทวารหนัก หูดที่อวัยวะเพศของผู้ชาย
การฉีดในเด็กผู้หญิง แพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี แพทย์จะแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ในเดือนที่ 0, 6 – 12 เดือน สำหรับหญิงอายุ 15 – 26 ปี ให้ฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1 – 2 และ 6 เดือน ส่วนการฉีดในเด็กผู้ชาย แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดวัคซีน HPV เฉพาะชนิด 4 สายพันธุ์ ในช่วงอายุ 9 – 26 ปีควรฉีดตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป
วัคซีนเด็กอื่นๆ เสริมภูมิต้านทานโรค
การรับวัคซีนหลักสำหรับเด็ก ถือว่าเพียงพอต่อการป้องกันโรคพื้นฐานที่เสี่ยงต่อเด็ก อย่างไรก็ตาม วัคซีนเสริมชนิดอื่น ๆ ก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเจ้าตัวเล็กได้มากขึ้นไปอีก ส่วนจะจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเสริมหรือไม่นั้น ขอให้พิจารณาดูว่าเจ้าตัวเล็กมีความเสี่ยงต่อโรคนั้น ๆ มากหรือน้อยเพียงใด หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมาก ก็อาจจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเสริมสำหรับเด็ก โดยวัคซีนเสริมสำหรับเด็ก มีดังนี้
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) วัคซีนชนิดไร้เซลล์นี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนได้ตามปกติ แต่มีผลข้างเคียงหลังฉีดที่น้อยกว่า
- วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด (IPV)การฉีดวัคซีนโปลิโอให้ประสิทธิภาพเท่ากับวัคซีนชนิดกิน และสามารถใช้แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง ซึ่งมักฉีดรวมพร้อมกับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน
- วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง (ไอพีดี) ( Pneumococcal Vaccine) จากเชื้อ “นิวโมคอคคัส” ซึ่งสามารถก่อให้เกิด 4 โรค ดังนี้ โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โดยจะเริ่มฉีดเมื่อเด็กมีอายุ 2 เดื่อนขึ้นไป ฉีด 1 – 4 เข็ม ตามแต่ช่วงอายุที่ฉีด หากฉีดเร็วก็ป้องกันได้เร็ว หากอายุ 2 เดือน แนะนำฉีดที่ 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 12-15 เดือน วัคซีนชนิดนี้ผู้ใหญ่สามารถฉีดได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคปอดเรื้อรัง แนะนำ ฉีด เพียงครั้งเดียว ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานกว่า 10 ปี ปัจจุบัน ตามคำแนะนำ มีทั้งแบบ 10,13 และ 15 สายพันธุ์ ซึ่งแนะนำฉีดแบบ 13 หรือ 15 สายพันธุ์ เพื่อครอบคลุมเชื้อได้มากกว่า 90 %
- วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Chickenpox or varicella vaccine) ฉีดรวมทั้งหมด 2 เข็ม เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกที่ อายุ 12 -18 เดือน โดยฉีด 2 เข็มห่างอย่างน้อย 3 เดือน แนะนำเข็มที่ 2 ช่วง 18 เดือน – 4 ปี หากอายุมากกว่า 13 ปี หรอื ผู้ใหญ่ ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส แนะนำฉีด 2 เข็ม ห่าง อย่างน้อย 1 เดือน อย่างไรก็ตาม เด็กที่ฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ก็ยังสามารถเป็นอีสุกอีใสได้อยู่ แต่มักเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นมากเท่ากับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส
- วัคซีนตับอักเสบ เอ (Hepatitis A Vaccine) มีทั้งแบบเชื้อเป็นและเชื้อตาย หากแบบเชื้อตาย ต้องฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้วัคซีนแก่ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับรุนแรง เช่น ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง เป็นวัคซีนที่แนะนำเช่นเดียวกัน เพราะติดง่าย ผ่านทางน้ำลาย หรืออาหารปนเปื้อน ฉีดเพียงครั้งเดียวอยู่ได้ ตลอดชีวิต
- วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue Vaccine) แนะนำให้ฉีด วัคซีนในเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 4-60 ปีโดยฉีด 2 เข็ม ห่าง 3 เดือน วัคซีนสามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยเป็นไข้เลือดออกและไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ซึ่งวัคซีนช่วยลดความรุนแรง และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้
- วัคซีน Enterovirus 71 วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งทำให้เกิด โรคมือเท้าปาก ชนิดรุนแรง ได้ถึง 97.3 % และ สามารถ ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับการรับรองว่าสามารถป้องกันเชื้อ Enterovirus 71 ได้ และผ่านการรับรอง อย.(FDA)ประเทศไทย
ข้อควรปฏิบัติสำหรับการรับ วัคซีนเด็ก
- พ่อแม่ควรนำสมุดบันทึกการรับวัคซีนติดตัวมาด้วยทุกครั้ง
- ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลก่อน ว่าลูกมีอาการแพ้ยา หรืออาหารชนิดใดบ้างหรือไม่
- หากมีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรงดการรับวัคซีน
- การเห็นลูกน้อยร้องไห้กลัวเข็มฉีดยา อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนถอดใจที่จะพาลูดน้อยไปฉีดวัคซีน หรืออาจมองข้ามความสำคัญจนละเลยไม่พาลูกน้อยไปรับวัคซีนตามนัดหรือตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ความจริงแล้ว วัคซีนมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กๆ ทุกคน โดยเฉพาะวัคซีนขั้นพื้นฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่าเด็กไทยทุกคนต้องได้รับตามช่วงอายุ เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันโรคสำหรับลูกน้อยจากโรคร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตในอนาคตได้
ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย 2568

ตารางวัคซีนของทางพิมพิกาคลินิก
(Child Vaccination Schedule)
นอกจากนี้ ทางคลินิก ยังมี Child Vaccination Package โปรแกรมวัคซีนเด็กเหมาจ่าย เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
แพคเกจวัคซีนพื้นฐาน ตั้งแต่ 2 เดือน หรือ 4 เดือน ถึง 1 ปี (Basic 1) และ แบบ 2 เดือน หรือ 4 เดือน ถึง 2 ปี
( Basic 2 ) รวมวัคซีนหลักพื้นฐานที่ต้องฉีด
และแพคเกจวัคซีนพิเศษ (Extra) จะรวม วัคซีนเสริม ไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ (IPD) ตั้งแต่ 2 เดือน หรือ 4 เดือน ถึง 1 ปี ( Extra 1) และแบบ 2 เดือน หรือ 4 เดือน ถึง 2 ปี ( Extra 2)
**หากในแพคเกจต้องการเปลี่ยนเป็น PCV 15 สามารถเปลี่ยนได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มครั้งละ 200 บาท
ปรึกษาวัคซีน ก่อนฉีดทุกเคส
ฟรีตรวจการเจริญเติบโตและพัฒนาการเบื้องต้นโดยกุมารแพทย์ ตามวัย ทุกครั้งที่ฉีด
** ฟรี สมุดประเมินพัฒนาการเด็ก DSPM สำหรับผู้ซื้อแบบแพคเกจและของที่ระลึก
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ( Influenza Vaccine )
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี ฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือนในอีกครั้ง หลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธ์ุทุกปีและภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้ประมาน 1 ปี
วัคซีนช่วยป้องกันโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความรุนแรง และการเกิดผลแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่แนะนำและจำเป็นในเด็กทุกคนโดยเฉพาะช่วงการระบาดของโควิด 19 เนื่องจากอาการคล้ายกัน
1 เข็ม ราคา 750 บาท 2 เข็ม 1,400 บาท
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ( Varicella Vaccine : VZV )
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ( Varicella Vaccine : VZV )
โรคอีสุกอีใสคือโรคที่ติดต่อผ่านทางละอองของน้ำลายหรือรอยโรคบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ การป้องกันที่ดีที่สุดคือ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
เด็กเล็กฉีดได้ตั้งแต่อายุ1ปีขึ้นไป { แนะนำให้ฉีดเข็มแรกช่วงอายุ 12 – 18 เดือน }
เข็มที่ 2 ฉีดได้เมื่ออายุ 18 เดือน – 4 ปี
อายุมากกว่า13ปี และ ผู้ใหญ่แนะนำให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 1เดือน
การฉีดวัคซีน 2 เข็ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ถึง 98% และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
ประโยชน์ของวัคซีน
นอกจากป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้วยังมีประโยชน์อื่นๆอีก
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็น
ลดการขาดเรียน หรือ ขาดงาน
ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
1 เข็ม 1,600- 2 เข็ม 3,000-
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococal Vaccine : IPD)
รู้ก่อน.. ป้องกันได้ IPD โรคร้ายในเด็กเล็ก ที่คุณแม่ ไม่ควรมองข้าม
โรค IPD (Invasive Pneumococcal Disease) คืออะไร ?
โรคติดเชื้อ จากแบคทีเรีย นิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงและรุกราน
เชื้อนิวโมคอคคัส ( Pneumococcus) ปกติจะอาศัยในโพรงจมูกและลำคออยู่แล้ว ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เชื้อมีจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายไปอวัยวะข้างเคียง ก็จะทำให้เด็กๆป่วยได้ ทำให้เกิดโรค ได้แก่
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis: จะมีอาการ ไข้สูง ชัก ซึม อาเจียนบ่อย ปวดศีรษะรุนแรง
- โรคติดเชื้อในกระแสเลือด Septicemia :จะมีอาการ ไข้สูง หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว อาจมีภาวะช็อคและเสียชีวิตได้
- โรคปอดบวม Penumonia: ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอเสมหะ หายใจลำบาก
- โรคหูชั้นกลางอักเสบ Otitis Media :ผู้ป่วยจะ ไข้สูง ปวดหู แก้วหูทะลุได้
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรค IPD ?
1. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ยิ่งเด็กยิ่งเสี่ยง เพราะภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ลูกน้อยมีโอกาสป่วยเป็นโรค IPD ได้ตั้งแต่ 2 เดือน
2. ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหอบหืด โรคตับ ไต เบาหวาน โรคหัวใจ
3. ผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี เชื้อนิวโมคอคคัสแต่ละสายพันธ์ มีความรุนแรงในการก่อโรคไม่เท่ากัน
ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ ทั้งแบบ 10 , 13 สายพันธุ์ และ 15 และ 20 สายพันธุ์ โดย PCV 13 และ PCV15 สามารถป้องกัน การติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่พบบ่อยในประเทศไทยได้มากกว่า 90% ฉีด ได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดการนอนโรงพยาบาลได้ และ PCV 20 รุนใหม่ล่าสุด ครอบคลุมได้มากกว่าเดิม เพิ่มขึ้น 20 %
ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง ก็สามารถ ฉีดได้ ฉีดเพียง 1 เข็ม ภูมิคุ้มกันยาวเป็น 10 ปี
ราคา PCV 13 (Prevnar13) 1 เข็ม 2,800- 2 เข็ม 5,500- 3 เข็ม 8,000- 4 เข็ม 10,500-
ราคา PCV 15 ( Vaxneuvance ) 1 เข็ม 3,000- 2 เข็ม 5,900- 3 เข็ม 8,600 – 4 เข็ม 11,200-
ใหม่! วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ แบบ 20 สายพันธุ์
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบแบบ 20 สายพันธุ์
พัฒนามาจากตัวเดิม 13 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมเชื้อ แบคทีเรีย Pneumococcus สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง ในไทยได้เพิ่มขึ้น 20%
การติดเชื้อ IPD ทำให้เกิดโรครุนแรงได้แก่
✅ โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
✅ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis)
✅ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ( Septicemia)
✅ โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media)
👉🏻ป้องกันเชื้อStreptococcus pneumoniae จำนวน 20 สายพันธุ์ (1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 8, 9V, 10A, 11A, 12F, 14, 15B, 18C, 19A, 19F, 22F, 23F และ 33F) ครอบคลุมโรค IPD ได้มากกว่าเดิม 20%
💉คำแนะนำ
✅ฉีดได้ ในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
โดยปกติแนะนำ ฉีดที่ 2 เดือน ฉีด 1-4 เข็มตามแต่อายุที่ฉีด
✅ หากเคยได้รับ PCV13/PCV15 มาก่อน สามารถ ฉีดต่อ ได้ด้วย PCV 20
✅ ในผู้ใหญ่ อายุ 18-65 ปี หรือ <65 1 2 3 4 13 15 20 ปีที่มีโรคประจำตัว
กลุ่มเสี่ยง แนะนำฉีด 1 เข็ม ( ไม่ต้องตามด้วย ppsv23 แล้ว)
ราคา PCV 20 ( Prevnar 20 ) 1 เข็ม 3,300- 2 เข็ม 6,400- 3 เข็ม 9,300- 4 เข็ม 12,000-
“มาป้องกันปอดอักเสบ ให้ลูกน้อยกันนะคะ”
วัคซีนรวมของทางพิมพิกาคลินิก
วัคซีนรวมเป็นแบบชนิดไร้เซล ไม่ค่อยทำให้เกิดไข้ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพียงเข็มเดียว ป้องกันได้หลายโรค
- วัคซีน รวม 6 โรค ( Hexaxim) ได้แก่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบบี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Hib เป็นวัคซีนแนะนำสำหรับเด็ก อายุ 2, (4 ) ,6 เดือน
ราคา 1 เข็ม 1,900- - วัคซีนรวม 5 โรค ( Pentaxim) ได้แก่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Hib เป็นวัคซีนแนะนำสำหรับเด็ก อายุ 4, 18 เดือน
ราคา 1 เข็ม 1,700- - วัคซีนรวม 4 โรค ( Tetraxim) ได้แก่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ เป็นวัคซีนแนะนำสำหรับฉีดกระตุ้นในเด็ก อายุ ( 18 ) เดือน , 4-6 ปี
ราคา 1 เข็ม 1,500-
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ( HPV Vaccine)
มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายของผู้หญิง ที่ป้องกันได้ !
มะเร็งปากมดลูกพบมาก อันดับ 2 ของมะเร็งในหญิงไทย ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ HPV (Human Papilloma virus) ถึง 99.7% และยังเป็นสาเหตุ ให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักในผู้ชาย วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้กว่า 90% แนะนำฉีดในผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 9-26 ปี ทุกคน และสามารถฉีดได้จนถึงอายุ 45 ปี วิธีการฉีด อายุ 9-15 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่าง 6-12 เดือน อายุ มากกว่า 15 ปี ฉีด 3 เข็ม เข็มที่ 2 ห่าง 2 เดือนและ เข็มที่ 3 ห่าง 4 เดือน วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกปัจจุบัน มีแบบ 4 สายพันธ์ุ และ 9 สายพันธุ์
- HPV 4 สายพันธ์ุ ( Gadasil4) ป้องกัน HPV 6,11,16,18
1 เข็ม 3,100- 2 เข็ม 5,800- 3 เข็ม 8,500-
2. HPV 9 สายพันธ์ุ ( Gadasil 9 ) ป้องกัน HPV 6,11,16,18,31,33,45,52,58
1 เข็ม 6,400- 2 เข็ม 12,500- 3 เข็ม 18,000-
วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV 71 ( Enterovirus 71 Vaccine)
วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งทำให้เกิด โรคมือเท้าปาก ชนิดรุนแรง ได้ถึง 97.3 % และ สามารถ ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับการรับรองว่าสามารถป้องกันเชื้อ Enterovirus 71 ได้ และผ่านการรับรอง อย.(FDA)ประเทศไทย
- แนะนำสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ( การศึกษา ได้ถึงอายุ 71 เดือน )
- ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
ราคาพิเศษ
1 เข็ม 3,200- 2 เข็ม 6,200-
รู้ระวังท้องร่วงเพราะไวรัสโรต้า (Rotavirus)
วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า (ROTA Virus VACCINE )
เชื้อไวรัสโรต้า เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงในเด็กวัย 5 ขวบปีแรก ซึ่งไวรัสนี้ระบาดได้ตลอดทั้งปี และพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว วัคซีนโรต้า เป็นวัคซีนจำเป็นในเด็กตามคำแนะนำ
วัคซีนไวรัสโรต้า ของทางพิมพิกาคลินิกมี 2 ชนิด
- แบบหยอด 3 ครั้ง (Rotateg) ที่ 2,4,6 เดือน ครั้งละ 900 บาท
- แบบหยอด 2 ครั้ง ( Rotarix) ที่ 2,4 เดือน ครั้งละ 1,200 บาท
วัคซีนป้องกันตับอักเสบ A
วัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ ( Hepatitis A Vaccine : HAV)
วัคซีนเสริมในเด็ก แนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคตับรุนแรง โดยวัคซีนฉีดได้ตั้งแต่ 1 ปี ขี้นไป
โดยฉีด 2 เข็ม ห่าง 6- 12 เดือน วัคซีนเป็นชนิดเชื้อตาย
1 เข็ม ราคา 1,400- 2 เข็ม 2,600-
___________________________________________________________________________________________
วัคซีนไข้เลือดออก ( Dengue vaccine )
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก( Qdenga® : Live-attenuated dengue2-dengue Vaccine )
ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีนำชิ้นส่วนของไวรัสเดงกี่ทั้ง 4 สายพันธุ์ มาใส่ในแกนของไวรัสเดงกี่เอง วัคซีนนี้จะออกฤทธิ์โดยเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ไปแบ่งตัวและกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งป้องกันได้ 4 สายพันธุ์
ประสิทธิภาพ:
– ป้องกันการเป็นไข้เลือดออก 80.2%**
– ป้องกันการเกิดไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (severe dengue) ได้ 85.9%
ใครฉีดได้บ้าง – วัคซีนนี้ใช้ในอายุ 4-60 ปี (คุณพ่อคุณแม่ก็ฉีดได้)
– ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
หมายเหตุ :
วัคซีนนี้กระตุ้นภูมิได้ดีทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยติดเชื้อมาแล้ว ดังนั้น จึงแนะนำให้ “ฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยเป็นและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน” โดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจดูว่าเคยติดเชื้อมาก่อน ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจดูว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ สามารถฉีดได้เลย**
วัคซีนไข้เลือดออกป้องกันครอบคลุมไวรัสเดงกี่ทั้ง 4 สายพันธุ์ (DEN1, DEN2, DEN3 และ DEN4) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ที่ 2 ที่ระบาดและรุนแรงที่สุด ดังนั้น เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้ และยิ่งมีประโยชน์มากเพราะหากติดเชื้อซ้ำอาการจะรุนแรงกว่าติดเชื้อครั้งแรก
หากต้องการรับวัคซีนไข้เลือดออกหลังจากหายป่วยด้วยไข้เลือดออก แนะนำว่าควรเริ่มรับวัคซีนเข็มแรกหลังจากหายป่วยด้วยไข้เลือดออกไปแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ราคาวัคซีน 1 เข็ม 2,300- 2 เข็ม 4,400-
________________________________________________________________________________________________________
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ( Rabies vaccine )
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine) ฉีดป้องกันไว้ มั่นใจกว่า
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา หากติดเชื้อแล้วเสียชีวิตเกือบทุกราย
โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถนำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้ เช่น สุนัข (พบมากสุด) แมว วัวควาย ลิง หนู ค้างคาว กระต่าย เป็นต้น ติดต่อมาสู่คนได้โดยการถูกสัตว์กัด ข่วน เลียที่แผล หรือเยื่อบุ เช่น ที่ปาก ตา จมูก เป็นต้น รวมถึงการชำแหละสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์ดิบที่ป่วยเป็นโรค
ผู้ที่เป็นโรคสุนัขบ้า จะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน!
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า สามารถ ฉีดป้องกันได้ ตั้งแต่ ก่อนสัมผัสเชื้อ ไม่จำเป็นต้องฉีดเฉพาะหลังสัมผัส หรือ ถูกกัดเท่านั้น โดยเฉพาะคนที่บ้านมีสัตว์เลี้ยงหรืออยู่ในชุมชนที่มีสุนัข
พาหะของโรคพิษสุนัขบ้า
สุนัข หมา แมว กระต่าย กระรอก หนู ลิง ค้างคาว
หากพบสัตว์ เหล่านี้ ข่วน หรือกัด มีรอยแผล แนะนำต้องรีบล้างแผลให้สะอาด และไปพบแพทย์ เพื่อรับวัคซีนป้องกัน
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ก่อนสัมผัสเชื้อ (Pre exposure Immunization) ฉีด 2 เข็ม ห่าง 7 วัน เข้ากล้ามเนื้อ (เว้นกลุ่มเสี่ยง ฉีด 3 เข็ม )
หลังสัมผัสเชื้อ ( Post exposure Immunization) ฉีด 5 เข็ม 0 ,3,7,14,28
ราคาเข็มละ 900-
ข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค
1. เมื่อสัมผัสสัตว์สงสัย หลังจากวัคซีนแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่ม (ลดความเสี่ยงแพ้ยา และเซรุ่มมีราคาแพง
2. ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันไว้แล้ว เมื่อถูกกัดหรือสัมผัสสัตว์ จะฉีดกระตุ้นแค่ เพียง 1-2 เข็ม (ไม่ต้องฉีดถึง 5 เข็ม)
หากรับวัคซีนป้องกันโรคครบ 2 เข็ม ถ้าไม่ถูกสัตว์กัด ไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ
_____________________________________________________________________________________________________________
วัคซีน ป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น( Meningococcal vaccine)
***สำหรับนักเดินทาง กลุ่มเสี่ยง หรือ ผู้ที่แพลนไปเรียนต่อต่างประเทศ**
โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดได้จากเชื้อ Neisseria meningitidis แบ่งออกเป็นชนิดย่อย (Serogroup) อีกหลายชนิดตามองค์ประกอบของแคปซูลโดยซีโรกรุ๊ป A, B, C, W และ Y เป็นซีโรกรุ๊ปหลักที่ก่อให้เกิดโรค เชื้อ Neisseria meningitidis อาศัยบริเวณหลังโพรงจมูก ติดต่อโดยผู้สัมผัสได้รับเชื้อโดยตรง
การ ป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นซีโรกรุ๊ปต่าง ๆ เพื่อใช้ในการป้องกันโรคตามอุบัติการณ์ซีโรกรุ๊ปที่พบเป็นปัญหาในแต่ละพื้นที่
Meningococcal vaccine มี 2 แบบ
1. วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น Sero Group A,C,W,Y ( Men ACWY)
ฉีดได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
แนะนำฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น
1. ผู้ที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ เช่น บริเวณตอนใต้ของแอฟริกา
2. นักศึกษาไปเรียนต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศยุโรปและอเมริกา (แนะนำฉีดอายุ 11-12 ปี และอีกครั้งที่อายุ 16-18 ปี)** แนะนำฉีดภายใน5 ปี ก่อนเข้ารับการศึกษา
3. ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมรวมตัวขนาดใหญ่ เช่น งานกีฬา โอลิมปิก หรือฟุตบอลโลก หรือ ประกอบพิธีฮัจญ์ ( ซาอุดิอาระเบีย)
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน หรือผู้ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ หรือ เด็กที่ต้องผ่าตัดม้าม
Recommend for travellersTo outbreak area such as Saudiarabia, Africa
Students planning study abroad, especially United states or Europe
2.วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น Sero group B vaccine ( 4CMenB)
เหมาะสำหรับ ฉีด ในประเทศไทย เนื่องจาก พบการระบาด sero group B ส่วนใหญ่
ฉีดได้ตั้งแต่ 2เดือน-50 ปี แนะนำโดยเฉพาะเด็กเล็กและกลุ่มเสี่ยง
- วัคซีนสั่งเฉพาะผู้ที่สนใจและรบกวนจองล่วงหน้า
Please make an appointment in advance
ราคาวัคซีน 3,800- บาท/เข็ม