ภาวะชักจากไข้สูง คืออะไร ? และควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีไข้

ภาวะชักจากไข้สูง ( Febrile Convulsion ) คืออะไร?

ภาวะชักจากไข้สูง สามารถพบได้ในเด็กเล็กตั้งแต่ อายุ 6 เดือน -7 ปี สาเหตุชัก ยังไม่ทราบแน่ในชัด ไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคลมชัก และไม่มีผลต่อสติปัญญา แต่เมื่อลูกน้อยมีไข้ ต้องหาสาเหตุ ซึ่งที่พบส่วนใหญ่ คือเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่นติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ทอลซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไข้ออกผื่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

🤒อาการคือจะมีไข้ มากกว่า 37.8 องศา ร่วมกับอาการชัก ได้แก่ ชักเกร็ง กระตุก ทั่วตัว ไม่รู้สึกตัว มักไม่เกิน 15 นาที บางรายมีอาการตาเหลือก ปากเขียว มือเท้าเขียว กัดฟัน น้ำลายฟูมปาก อุจจาระปัสาวะราดได้

💗คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ ต้องปฐมพยาบาลลูกทันที ไม่ตื่นตกใจหรือฟูมฟาย
💗จับนอนตะแคง ไม่หนุนหมอน หันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
💗 คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อจะได้หายใจสะดวก
💗 ห้ามใช้วัตถุ หรือนิ้วงัดปาก
💗 เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา อุณภูมิห้อง เน้นบริเวณข้อพับ โดยเช็ดไปในทิศเข้าหาหัวใจ เพื่อเปิดรูขุมขน เช็ดนาน 10-15 นาที จนกว่าตัวจะเย็นลง และวัดไข้ซ้ำ แนะนำมีพักผ้าไว้ตรงบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ร่วมด้วย
💗 ไปโรงพยาบาล พบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุชักและเฝ้าระวังการชักซ้ำ

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเมื่อชัก

💛 เขย่าตัวให้เด็กตื่น จะได้หายจากการชัก จริงๆ แล้วยิ่งเขย่าจะทำให้เด็กชักมากขึ้นกว่าเดิม และไม่ควรงัดแขนเด็ก ระหว่างอาการชัก จะทำให้กระดูกแขนหัก ข้อหลุดได้

💛 นำช้อนมางัดเข้าปาก เพื่อไม่ให้เด็กกัดลิ้นตัวเอง ซึ่งการนำของแข็งต่างๆ ใส่เข้าปาก อาจทำให้เด็กฟันหักได้ อีกทั้งยังจะหลุดเข้าไปในหลอดลม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือพิการได้ค่ะ

💛ป้อนยาระหว่างชัก
เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลยระหว่างที่เด็กๆ ชัก เพราะจะทำให้เขาเสี่ยงต่อการสำลักได้

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะชักเมื่อไข้สูง

❤️อาการชักมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีประวัติชักการไข้ จะมีโอกาสชักมากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติชักการไข้

❤️การชักจากไข้สูง จะไม่ทำให้เด็กเกิดสมองพิการ เขาจะมีความสามารถในการเรียนและสติปัญญา (IQ) เหมือนเด็กทั่วไปมีโอกาสเกิดการชักซ้ำร้อยละ 30 และมักเกิดภายใน 2 ปีแรก

วิธีเช็ดตัวที่ถูกต้องเมื่อลูกน้อยเป็นไข้

วิธีเช็ดตัวเมื่อลูกมีไข้

  1. เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา หรืออุณภูมิห้อง จะไม่ใช้น้ำที่เย็นหรือร้อนเกินไป
  2. ปิดพัดลม เครื่องปรับอากาศ
  3. ใช้ผ้าขนหนู ผื่นเล็ก4-5 ผื่น ชุบน้ำให้ชุ่ม เช็ดบริเวณลำตัว แขน ขา โดยเช็ดไปในทิศเข้าหาหัวใจ เพื่อเปิดรูขุมขน เช็ดนาน 10-15 นาที จนกว่าตัวจะเย็นลง และวัดไข้ซ้ำ
  4. แนะนำมีพักผ้าไว้ตรงบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ร่วมด้วย
  5. ซับตัวเด็กให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย
  6. หากเช็ดตัวแล้วไข้ยังไม่ลด ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุไข้

บทความโดย
พ.ญ พิมพิกา ตันติธรรมวงศ์
29 ก.ค 2567

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *